เมนู

4. จูฬเวทัลลสูตร



[505] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในเวฬุวันซึ่งเป็นที่ประทาน
เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้น อุบาสกชื่อวิสาขะเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีธรรมทินนา
ถวายนมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
[506] วิสาขะอุบาสกถาม นางธรรมทินนาภิกษุณี ปรารภจตุ-
สัจจธรรมว่า พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สักกายะ สักกายะ
กายของตน กายของตน ดังนี้ ธรรมอย่างไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า กายของตน.
นางธรรมทินนาภิกษุณี วิสัชนาว่า วิสาขะอุบาสกผู้มีอายุ ขันธ์ทั้ง
หลายที่เป็นอุปาทานเหล่านี้ คือกองรูปที่ยังมีความยึดมั่น กองเวทนาที่ยัง
มีความยึดมั่น กองสัญญาที่ยังมีความยึดมั่น กองสังขารที่ยังมีความยึด
มั่น กองวิญญาณที่ยังมีความยึดมั่น อุปาทานขันธ์ 5 ประการนี้แล พระองค์
ตรัสว่า กายของตน.
วิสาขะอุบาสก อนุโมทนาชื่นชมตามภาษิต ของนางธรรมทินนา
ภิกษุณีว่า ถูกละ พระแม่เจ้า ดังนี้แล้ว จึงถามยิ่งขึ้นไปกับนางธรรมทินนา
ภิกษุณีว่า พระแม่เจ้า ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สักกายสมุทัย
สักกายสมุทัย ธรรมเป็นที่เกิดขึ้นพร้อมแห่งสักกายะ ธรรมเป็นที่เกิดขึ้น
พร้อมแห่งสักกายะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.
ธ. ตัณหา อันใดไปพร้อมด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความ
เพลิน มักเพลินเฉพาะในภพนั้น ๆ ตัณหานั้น 3 อย่าง กามตัณหาหนึ่งภวตัณ-

หาหนึ่ง วิภวตัณหาหนึ่ง นี้แลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรมเป็นที่เกิดขึ้น
พร้อมแห่งสักกายะ..
วิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธ
ธรรมเป็นที่ดับแห่งสักกายะ ธรรมเป็นที่ดับแห่งสักกายะ ก็ธรรมสิ่งไรเล่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าธรรมเป็นที่ดับแห่งสักกายะ แม่เจ้า
ธ. ความดับด้วยความคลายเสียโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นอันใด
ความสละ สละคืน ความปล่อยวาง ความพ้นไป ความไม่พัวพันนี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าสักกายนิโรธ.
วิ. พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า ทางปฏิบัติให้สัตว์ถึง
สักกายนิโรธ ทางปฏิบัติให้สัตว์ถึงสักกายนิโรธ ข้อปฏิบัติอย่างไร
พระองค์ตรัสว่า ทางปฏิบัติจะให้สัตว์ถึงสักกายนิโรธ แม่เจ้า?
ธ. อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แล คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ
กล่าววาจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ
ระลึกชอบ ความตั้งจิตไว้เสมอชอบ อันนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทาง
ปฏิบัติจะให้สัตว์ถึงสักกายนิโรธ คุณวิสาขะ.
วิ. พระแม่เจ้า ! อุปาทานก็นั้นแล อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ก็นั้นแล หรือ
อุปาทานอื่นจากุปาทานขันธ์ทั้ง 5.
ธ. วิสาขะ อุปาทานก็นั้นแล ปาทานขันธ์ทั้ง 5 ก็นั้นแล หาใช่
ไม่ อุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ก็หาใช่ไม่ คุณวิสาขะ ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 อันใด ฉันทราคะนั้นแล เป็น
ปาทาน ในปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้น.

[507] วิ. พระแม่เจ้า ความเห็นว่ากายแห่งตน ย่อมเป็นอย่างไร
ธ. คุณวิสาขะ ปุถุชชนไม่ได้สดับแล้ว ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้พบเห็น
พระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า มิได้ฝึกใจในธรรม
ของพระอริยเจ้าแล้ว และเป็นผู้ไม่ได้พบเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน
ธรรมของสัตบุรุษ มิได้ฝึกใจในธรรมของสัตบุรุษ ผู้นั้นย่อมตามเห็น
รูป โดยความเป็นตนหรือตามเห็นตนว่า มีรูป พิจารณาเห็นรูปในตน หรือ
พิจารณาเห็นตนในรูป อนึ่งปุถุชชนผู้ไม่ได้สดับแล้วนั้น ย่อมตามเห็นเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นคน หรือตามเห็นตนว่า มีเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือพิจารณาเห็น เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณในตน หรือพิจารณาเห็นตนใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญ-
ญาณ คุณวิสาขะ สักกายทิฏฐิ ย่อมเป็นอย่างนี้.
วิ. พระแม่เจ้า สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีด้วยอย่างไรเล่า
ธ. คุณวิสาขะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ได้พบ
เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ฝึกใจในธรรมของ
พระอริยเจ้าดีแล้ว และเป็นผู้ได้พบเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของ
สัตบุรุษ ฝึกใจในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว ท่านย่อมไม่ตามเห็นรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน หรือไม่ตามเห็นตนว่า มี
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือไม่ตามเห็นรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณในตน หรือไม่ตามเห็นตนในรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ คุณวิสาขะ. สักกายทิฏฐิ ย่อมไม่มีอย่างนี้.
[508] วิ. พระแม่เจ้า ก็ทางมีองค์ 8 ซึ่งเป็นธรรมไปพ้นกิเลสเป็น
อย่างไร ?
ธ. คุณวิสาขะ ก็หนทางมีองค์ 8 ซึ่งเป็นอริยะทางเดียวนี้
แล คือปัญญาเห็นชอบอย่างหนึ่ง ความดำริชอบอย่างหนึ่ง เจรจาชอบอย่าง

หนึ่ง ทำการงานชอบอย่างหนึ่ง เลี้ยงชีวิตชอบอย่างหนึ่ง เพียรชอบอย่าง
หนึ่ง ระลึกชอบอย่างหนึ่ง ตั้งจิตไว้ชอบอย่างหนึ่ง.

วิ. อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรมที่ปัจจัยประชุมแต่งหรือเป็นธรรมที่
หาใช่ปัจจัยประชุมแต่งไม่เล่า.

ธ. คุณวิสาขะ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ เป็นธรรมที่ปัจจัยประชุมแต่ง.
วิ. พระแม่เจ้า ขันธ์ทั้ง 3 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์
แล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 หรือว่าอริยมรรคมีองค์ 8 พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงย่นเข้าถือเอาด้วยขันธ์ทั้ง 3.

ธ. คุณวิสาขะ ขันธ์ทั้ง 3 พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ทรงสงเคราะห์
ด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 หามิได้ ก็แลอริยมรรคมีองค์ 8 พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ทั้ง 3 ต่างหาก คุณวิสาขะ สัมมาวาจา สัมมา-
กัมมันตะ 1 สัมมาอาชีวะ 1 ธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์
ด้วยกองศีล. สัมมาวายามะ 1 สัมมาสติ 1 สัมมาสมาธิ 1 ธรรมเหล่านี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยกองสมาธิ. สัมมาทิฏฐิ 1 สัมมาสัง
กัปปะ 1 ธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ด้วยกองปัญญา.

วิ. พระแม่เจ้า ธรรมอะไรเป็นสมาธิ ธรรมเหล่าไรเป็นนิมิตแห่ง
สมาธิ? ธรรมเหล่าไรเป็นปริกขารของสมาธิ สมาธิภาวนาอย่างไร
ธ. คุณวิสาขะ ความที่จิตเป็นสภาพมีอารมณ์อันเดียว อันนี้เป็นสมาธิ
สติปัฏฐาน 4 เป็นนิมิตแห่งสมาธิ สัมมัปปธาน 4 เป็นปริกขารของสมาธิ
ความเสพธรรมเหล่านั้นเนืองๆ การให้ธรรมเหล่านั้นเจริญ การทำให้
ธรรมนั้นมากขึ้น อันนี้เป็นสมาธิภาวนา.

[509] วิ. ธรรมที่ได้ชื่อว่าสังขารมีเท่าไร พระแม่เจ้า-
ธ. สังขารทั้งหลายเหล่านี้ 3 ประการ คือกายสังขาร 1 วจี
สังขาร 1 จิตตสังขาร 1 คุณวิสาขะ.
วิ. พระแม่เจ้า ก็กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารแลจิตตสังขาร
เป็นอย่างไร
ธ. คุณวิสาขะ ลมหายใจออกแลหายใจเข้ากลับเป็นกายสังขาร
วิตกแลวิจาร เป็นวจีสังขาร สัญญา 1 เวทนา 1 เป็นจิตตสังขาร.
วิ. พระแม่เจ้า ! เพราะเหตุอะไร ลมหายใจออกแลหายใจเข้า จึงเป็น
กายสังขาร วิตกและวิจารจึงเป็นวจีสังขาร สัญญาแลเวทนาจึงเป็นจิตต
สังขาร
ธ. คุณวิสาขะ สภาพคือลมหายใจออกแลหายใจเข้าเป็นส่วนมีใน
กาย ติดเนื่องด้วยกาย เพราะฉะนั้นจึงเป็นกายสังขาร. บุคคลย่อมตรึกตรอง
แล้วจึงเปล่งวาจา เพราะฉะนั้นวิตกแลวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร. สภาพทั้ง
2 นี้คือความจำอารมณ์ได้ ความรู้แจ้งอารมณ์ ความเสวยอารมณ์ เป็นส่วนมี
ในจิต เพราะเนื่องด้วยจิต เพราะฉะนั้นสัญญาแลเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร
[510] วิ. พระแม่เจ้า การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมมีด้วยอย่าง
ไร
ธ. คุณวิสาขะ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ จะได้คิดว่า เราจัก
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ดี ว่าบัดนี้เราจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ดังนี้ก็
ดี หรือว่าเราสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วดังนี้ก็ดี หามิได้ ก็แต่จิตเช่นนั้นอันนำ
เข้าไปเพื่อความเป็นเช่นนั้น ท่านได้ให้เกิดแล้วแต่แรกเทียว.
วิ. พระเจ้า เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรมเหล่าใดย่อม
ดับไปก่อน กายสังขารดับไปก่อน หรือวจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับไปก่อน

ธ. เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารย่อมดับไปก่อน ต่อนั้น
กายสังขาร ภายหลังจิตสังขาร คุณวิสาขะ.
วิ. พระแม่เจ้า การออกจากสัญญาเวทยิ นิโรธสมาบัติเป็นอย่างไร?
ธ. คุณวิสาขะ เมื่อภิกษุออกอยู่จากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
จะมีสำคัญหมายรู้ว่า เราจักออกก็ดี เราออกอยู่ก็ดี เราออกแล้วก็ดี จากสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติดังนี้หามิได้ ก็แต่จิตเช่นนั้นอันนำเข้าไปเพื่อความเป็น
เช่นนั้น ท่านได้ให้เกิดแล้วแต่แรกเทียว.
วิ. เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าใดเกิด
ขึ้นก่อน กายสังขาร หรือวจีสังขาร หรือจิตตสังขาร พระแม่เจ้า.
ธ. คุณวิสาขะ. เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตต-
สังขารเกิดขึ้นก่อน ต่อนั้นกายสังขาร แล้ววจีสังขาร.
วิ. พระแม่เจ้า ก็ผัสสะเท่าไรถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญา
เวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว.
ธ. ผัสสะ 3 ประการ คือผัสสะคือรู้สึกว่างหนึ่ง ผัสสะคือรู้สึกไม่มี
นิมิตหนึ่ง ผัสสะคือรู้สึกหาที่ตั้งมิได้หนึ่ง เหล่านี้ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจาก
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว.
วิ. พระแม่เจ้า. จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
แล้ว ย่อมน้อมไปในธรรมสิ่งใด โอนไปในธรรมสิ่งใด โอนไปในธรรมสิ่งไร.
ธ. คุณวิสาขะ. จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
แล้ว ย่อมน้อมไปในความสงัด โอนไปในความสงัด เงื้อมไปในความสงัด.

[511] วิ. พระแม่เจ้า ก็ความเสวยอารมณ์มีเท่าไร.
ธ. คุณวิสาขะ ความเสวยอารมณ์มี 3 ประการเหล่านี้ คือความ
เสวยอารมณ์เป็นสุขอย่างหนึ่ง ความเสวยอารมณ์เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง ความ
เสวยอารมณ์ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์อย่างหนึ่ง
วิ. พระแม่เจ้า. สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นไฉน อทุกขมสุข
เวทนาคือสิ่งอะไร.
ธ. คุณวิสาขะ. ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขสำราญ ซึ่งเป็นไปใน
กาย หรือเป็นไปในจิต อันนี้เป็นสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ไม่
สำราญ ซึ่งเป็นไปในกาย หรือเป็นไปในจิต อันนี้เป็นทุกขเวทนา ความเสวย
อารมณ์ที่มิใช่ความสำราญแลมิใช่ความไม่สำราญ เป็นไปในกาย หรือเป็น
ไปในจิต อันนี้เป็นอทุกขมสุขเวทนา คุณวิสาขะ.
วิ. พระแม่เจ้า. ก็สุขเวทนาคงเป็นสุขอยู่ได้เพราะอะไร กลายเป็นทุกข์
เพราะอะไร.
ธ. คุณวิสาขะ สุขเวทนาคงเป็นสุขเพราะทรงอยู่ กลายเป็นทุกข์
เพราะแปรไป ทุกขเวทนาคงเป็นทุกข์เพราะทรงอยู่ กลายเป็นสุขเพราะแปร
ไป อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ไม่ชอบ.
วิ. พระแม่เจ้า อนุสัยอะไรย่อมตามนอนอยูในสุขเวทนา อนุสัยอะไร
ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนา อนุสัยอะไรตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา.
ธ. คุณวิสาขะ. กามราคานุสัย ย่อมตามนอนอยู่ในสุขเวทนา
ปฏิมานุสัย ตามนอนอยู่ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัย ตามนอนอยู่ในอทุกขม-
สุขเวทนา.

วิ. พระแม่เจ้า. ก็ราคานุสัยย่อมตามนอนอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมด
หรือ ปฏิฆานุสัยย่อมตามนอนอยู่ในทุกขเวทนาทั้งสิ้น หรือว่าอวิชชานุสัยย่อม
ตามนอนอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งปวง.
ธ. คุณวิสาขะ. ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย แลอวิชชานุสัย จะได้มา
ตามนอนอยู่ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา แลอทุกขมสุขเวทนา ทั้งหมดหามิได้.
วิ. พระแม่เจ้า ! อะไรอันสุขเวทนาจะพึงละได้ด้วย อะไรจะพึงละได้
ด้วยทุกขเวทนา อะไรจะพึงละได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
ธ. คุณวิสาขะ. ราคานุสัยจะพึงละได้ด้วยสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยจะพึง
ละได้ด้วยทุกขเวทนา อวิชชานุสัยจะพึงละได้ด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
วิ. พระแม่เจ้า. ราคานุสัยจะพึงละเสียในสุขเวทนาทั้งนั้น ปฏิฆานุสัย
จะพึงละเสียด้วยทุกขเวทนาทั้งนั้น อวิชชานุสัยจะพึงละเสียด้วยอทุกขมสุข
เวทนาทั้งนั้นหรือ
ธ. คุณวิสาขะ ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย แลอวิชชานุสัย จะพึงละได้
ด้วยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาทั้งนั้น หามิได้.
วิ. พระแม่เจ้า ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย พึงละเสียได้ด้วย
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ทั้งปวงหรือ
ธ. คุณวิสาขะ ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย จะพึงละได้ด้วยสุข
เวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ทั้งปวงหามิได้. ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลายแล้วเทียว ได้บรรลุ
ปฐมฌาน อันประกอบด้วยวิตกวิจารมีปิติแลอกุศลเกิดแต่ความสงัดจากนิวรณ์
แล้วแลอยู่ ท่านย่อมละราคะด้วยปฐมฌานนั้น, ราคานุสัย จะได้มาตามนอน
อยู่ในปฐมฌานนั้นหามิได้. อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาอยู่ว่า เมื่อไร
เราจักได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุแล้วแลอยู่บัดนี้ แล้วแลอยู่

เหมือนท่าน ดังนี้ เมื่อภิกษุเข้าไปตั้งความรักใคร่ทยานไว้ในวิโมกข์ ซึ่งเป็น
อนุตรธรรมทั้งหลายอย่างนี้ เพราะความรักใคร่ทยานในวิโมกข์เป็นปัจจัย
โทมนัสย่อมเกิดขึ้น ท่านละปฏิฆะได้เพราะความทยานในอนุตรวิโมกข์
นั้น ปฏิฆานุสัยย่อมไม่ตามนอนอยู่ในความทยานในอนุตรวิโมกข์นั้น คุณวิสาขะ
อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละความสุขความทุกข์เสีย เพราะความ
โสมนัสแลความโทมนัสทั้ง 2 ดับสูญในก่อนเทียว แล้วได้บรรลุฌานที่ 4
อันไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีความที่สติเป็นคุณบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแล
อยู่ ท่านย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยย่อมไม่ตามนอนอยู่
ในจตุตถฌานนั้น.
[512] วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา
ธ. คุณวิสาขะ. ความกำหนัด เป็นส่วนเปรียบแห่งสุขเวทนา
วิ. สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา พระแม่เจ้า
ธ. คุณวิสาขะ. โทษะกระทบใจ เป็นส่วนเปรียบแห่งทุกขเวทนา
วิ. พระแม่เจ้า. สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา
ธ. ความไม่รู้แจ้ง เป็นส่วนเปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา คุณวิสาขะ.
วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา.
ธ. คุณวิสาขะ. ความที่ไม่รู้แจ้งชัด เป็นส่วนเปรียบแห่งอวิชชา.
วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา.
ธ. คุณวิสาขะ. ความพ้นกิเลส เป็นส่วนเปรียบแห่งวิชชา.
วิ. พระแม่เจ้า. ก็สิ่งใดเล่าเป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุตติ.
ธ. คุณวิสาขะ. พระนิพพาน เป็นส่วนเปรียบแห่งวิมุตติ.

วิ. พระแม่เจ้า ก็อะไรเล่า เป็นส่วนเปรียบแห่งนิพพาน.
ธ. วิสาขะ ท่านล่วงเกินปัญหาเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่
สุดรอบ แห่งปัญหาทั้งหลายได้ ด้วยว่าการประพฤติพรหมจรรย์ ก็ย่อม
หยั่งลงในพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่ถึงในเบื้องหน้า มีที่สุดจบลงเพียง
พระนิพพานเท่านั้น. ถ้าหากท่านจำนงอยู่ไซร้ พึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วกราบทูลถามความเรื่องนี้เถิด และพระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสพยากรณ์
แก่ท่านฉันใด ท่านก็พึงทรงจำข้อพยากรณ์นั้นไว้ ฉันนั้นเถิด.
[513] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสก ชื่นชมอนุโมทนาข้อภาษิตแห่งนาง
ธรรมทินนาภิกษุณีแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะที่นั่ง ถวายนมัสการทำประทัก
ษิณ นางธรรมทินนาภิกษุณีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประ
พับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรแล้ว กราบทูลข้อปุจฉาแลพยากรณ์ ที่ตนไต่
ถามและข้อความที่นางธรรมทินนาภิกษุณีวิสัชนาทุกประการ ให้พระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงทราบ แต่เบื้องต้นตลอดถึงที่สุด. ครั้นวิสาขอุบาสกกราบ
ทูลอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิสาขะ. นางธรรมทินนาภิกษุณี
เป็นบัณฑิตมีปัญญายิ่งใหญ่ และข้อความอันนี้ แม้หากว่าท่านจะถามเรา
ผู้ตถาคต ตถาคต ก็จะพึงพยากรณ์กล่าวแก้ข้อวิสัชนาอย่างนี้ เหมือนข้อ
ความที่นางธรรมทินนาภิกษุณีได้พยากรณ์แล้ว ไม่แปลกกันเลย อันนี้แล
เป็นเนื้อความนั่นแล้ว ท่านจงจำทรงไว้ให้แน่นอนเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสพระพุทธพจน์อันนี้แล้ว วิสาขอุบาสกก็ได้ชื่นชมเพลินเฉพาะภาษิต
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้.

จบจูฬเวทัลลสูตรที่ 4

อรรถกถาจุลลเวทัลลสูตร


จุลลเวทัลลสูตรขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้".
ในคำเหล่านั้น คำว่า "วิสาขอุบาสก" ได้แก่ อุบาสกผู้มีชื่ออย่างนั้น
ว่า "วิสาข". คำว่า "โดยที่ใดนางธรรมทินนา" คือเข้าไปหาถึงที่ซึ่งภิกษุณี
ชื่อธรรมทินนาอยู่.
วิสาขะนี้คือใครกันเล่า
นางธรรมทินนาเป็นใคร
ทำไมจึงเข้าไปหา
เมื่อนางธรรมทินนายังเป็นคฤหัสถ์ วิสาขะเป็นเจ้าของเรือน (เป็นสามี)
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
แล้วทรงหมุนล้อพระธรรมอันประเสริฐ ได้ทรงแนะนำกุลบุตรมียศเป็นต้น
เสด็จบรรลุถึงตำบลอุรุเวลา. ในที่นั้นได้ทรงแนะนำชฏิลพันคนแล้วเสด็จดำเนิน
ไปยังกรุงราชคฤห์กับหมู่ภิกษุณีขีณาสพชฏิลเก่า แล้วทรงแสดงธรรมถวาย
พระเจ้าพิมพิสารมหาราชซึ่งเสด็จดำเนินมาพร้อมกับบริษัทแสนสองหมื่นคน
เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า. ในแสนสองหมื่นคนที่มาพร้อมกับพระราชาในครั้งนั้น
หนึ่งหมื่นคนประกาศตนเป็นอุบาสก. อีกหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคนพร้อมกับ
พระเจ้าพิมพิสาร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. อุลาสกนี้เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้น
เมื่อดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลในการเฝ้าครั้งแรกนั่นเอง พร้อมกับคนเหล่านั้น
แล้ว ในอีกวันหนึ่งก็ได้ฟังธรรมสำเร็จสกทาคามิผล แต่นั้นมาในภายหลัง
วันหนึ่ง ได้ฟังธรรมจึงได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล เมื่อได้เป็นพระอนาคามีแล้ว
มาสู่เรือน ไม่ได้มาอย่างวันเหล่าอื่นที่มองนั่นดูนี่ หัวเราะยิ้มแย้มพลางเดิน
เข้ามา. หากแต่กลายเป็นคนสงบอินทรีย์มีใจสงบเดินเข้าไป.

1. พระสูตร-จูฬเวทัลลสูตร